1.1 หน่วยรับข้อมูลเข้า เช่น แป้นพิมพ์ เมาส์
1.2 หน่วยประมวลผลกลาง (ซีพียู)
1.3 หน่วยแสดงผลข้อมูล หรือหน่วยส่งออก
2. ซอฟต์แวร์ คือ ชุดคำสั่ง (โปรแกรม) ที่สั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน จัดเป็นส่วนที่เป็นนามธรรม คือ ไม่มีตัวตน ไม่สามารถมองเห็นได้ แต่เป็นส่วนที่จำเป็น ถ้าไม่มีซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ก็ไม่สามารถทำงานได้ ซอฟต์แวร์ถือว่าเป็นทรัพย์สินทางปัญญาอย่างหนึ่ง และอยู่ภายใต้การคุ้มครองของกฎหมายลิขสิทธิ์ หมายถึง ผู้ใช้งานที่ถูกต้องจะต้องได้รับการอนุญาตจากเจ้าของซอฟต์แวร์นั้น อาจจะได้รับอนุญาต หรือ ซื้อมา ซอฟต์แวร์นั้นเราแบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ ดังนี้
2.1 ซอฟต์แวร์ระบบ เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานในส่วนต่าง ๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่ประสานงานระหว่างฮาร์ดแวร์กับซอฟต์แวร์อื่น
2.2 ซอฟต์แวร์อรรถประโยชน์ เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่ช่วยในการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ในหน้าที่เฉพาะด้านบางอย่าง เช่น การตรวจหาและกำจัดไวรัสคอมพิวเตอร์ การเรียงลำดับข้อมูลเป็นต้น
2.3 ซอฟต์แวร์ประยุกต์ ได้แก่โปรแกรมที่ใช้ทำงานตามคำสั่ง หรือตามความต้องการของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ได้แก่ โปรแกรมประมวลผลคำ เช่น Word หรือโปรแกรมคำนวณ เช่น Excel เป็นต้น
2.1 ซอฟต์แวร์ระบบ เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานในส่วนต่าง ๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่ประสานงานระหว่างฮาร์ดแวร์กับซอฟต์แวร์อื่น
2.2 ซอฟต์แวร์อรรถประโยชน์ เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่ช่วยในการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ในหน้าที่เฉพาะด้านบางอย่าง เช่น การตรวจหาและกำจัดไวรัสคอมพิวเตอร์ การเรียงลำดับข้อมูลเป็นต้น
2.3 ซอฟต์แวร์ประยุกต์ ได้แก่โปรแกรมที่ใช้ทำงานตามคำสั่ง หรือตามความต้องการของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ได้แก่ โปรแกรมประมวลผลคำ เช่น Word หรือโปรแกรมคำนวณ เช่น Excel เป็นต้น
3. บุคลากรคอมพิวเตอร์ ซึ่งถือว่าเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของระบบคอมพิวเตอร์ เพราะแต่เดิมนั้น คอมพิวเตอร์เป็นสิ่งที่ใช้ยาก บุคลากรที่จะทำหน้าที่เป็นผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์จะต้องมีความรู้ในระดับผู้ชำนาญการทีเดียว แต่ในปัจจุบันนี้ การใช้งานคอมพิวเตอร์มีหลายระดับ ในระดับพื้นฐานนั้นการใช้งานจะง่ายมาก เพราะทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์สมัยใหม่ได้รับการออกแบบให้ง่ายต่อการใช้งาน เรียกว่า เป็นมิตรต่อผู้ใช้ ผู้ใช้งานในระดับนี้ เมื่อได้รับการฝึกหัดเพียงเล็กน้อยก็สามารถเริ่มใช้งานได้ทันที อย่างไรก็ตาม ระบบคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันมักมีการต่อเชื่อมกับเครือข่าย ซึ่งส่วนนี้ยังมีความยุ่งยากพอสมควร นอกจากนี้ยังมีปัญหาเรื่อง ไวรัสคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นโปรแกรมชนิดหนึ่งที่สามารถทำให้เกิดความผิดปกติในการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ จึงจำเป็นที่ต้องใช้บุคลากรคอมพิวเตอร์ที่มีความเชี่ยวชาญมาดูแลระบบคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในองค์กรที่มีคอมพิวเตอร์จำนวนมาก ๆ บุคลากรคอมพิวเตอร์ที่สำคัญได้แก่
3.1 ผู้ดูแลระบบ (System Administrator)
3.2 นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst)
3.3 นักเขียนโปรแกรม (Programmer)
3.4 วิศวกรระบบ (System Engineer)
3.5 วิศวกรเครือข่าย (Network Engineer)
3.6 ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ระดับสูง (Super User)
3.7 ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทั่วไป (User)
4. ข้อมูล คือทรัพยากรอันมีค่าขององค์กร ต้องมีการจัดเก็บอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย และต้องมีวิธีการให้เรียกใช้ได้อย่างทันการตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ การจัดข้อมูลอย่างมีระบบ ใช้โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล (Database Management Program) ดังนั้น ในการจัดเก็บข้อมูลจำเป็นต้องศึกษาระบบงานขององค์กรเป็นอย่างดี เพื่อทำการวิเคราะห์และออกแบบระบบฐานข้อมูล เพื่อให้เรียกใช้งานได้ง่ายยิ่งขึ้น
5. กระบวนงาน คือระเบียบวิธีการปฏิบัติงาน กรณีที่มีผู้ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ร่วมกันหลายคน การมีข้อตกลงร่วมกันเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติงาน จะทำให้เกิดการประสารงานที่ดีขึ้น เช่น การตั้งชื่อแฟ้มข้อมูล และในหน่วยงานที่มีการบริหารงานคอมพิวเตอร์และสารสนเทศอย่างเป็นระบบ จะมีการจัดทำคู่มือต่าง ๆ เกี่ยวกับระบบวิธีการปฏิบัติงาน รวมทั้งมีการวบรวมหนังสือคู่มือเครื่อง คู่มือซอฟต์แวร์ คู่มือการใช้เครือข่าย ฯลฯ ให้พร้อมใช้งานได้ตลอดเวลา
อ้างอิง
https://sites.google.com/site/non537/home/swn-prakxb-khxng-khxmphiwtexr
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น